ผู้เขียน: ปรัชญากรณ์ ลครพล

สำนักพิมพ์มติชน 2563

ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์

เนื้อหาโดยสังเขป:

  “ในชั่วเวลา 150 ปีที่แล้วมา การทหารเกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรเปนชิ้นเปนอันเลย นอกจากมีปืนเล็ก ปืนกลสัก 2-3 ร้อยกระบอก มีเครื่องบินที่ปราศจากอาวุธทำลายล้างทางอากาศอยู่เล็กน้อย มีเรือรบที่เก่าพ้นสมัยอยู่ 4-5 ลำเท่านั้น ในชั่วเวลา 2 ปีที่รัฐธรรมนูญได้จัดระบอบการปกครองใหม่ ท่านคงจะเห็นได้แล้วว่าโฉมหน้าของการทหารได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร...” 

พันเอก หลวงพิบูลสงคราม, 2477 

หลังการปฏิวัติสยาม 2475 ระบอบการปกครองใหม่มีสถานะไม่มั่นคง พร้อมจะถูกสั่นคลอนจากกลุ่มอำนาจเก่าอยู่ตลอดเวลา ทำให้คณะราษฎรต้องเร่งหานโยบายสร้างความมั่นคงทางการเมือง ภารกิจการปฏิวัติ "กองทัพพระมหากษัตริย์" ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ "กองทัพคณะราษฎร" ในระบอบประชาธิปไตยจึงเริ่มขึ้น ชนชั้นเจ้าที่เคยอยู่ในโครงสร้างส่วนบนของกองทัพถูกขจัดออกไป แทนที่ด้วยผู้นำกองทัพใหม่จากคณะราษฎร 

"กองทัพคณะราษฎร" ผลงานของปรัชญากรณ์ ลครพล ฉายภาพการสร้างประชาธิปไตยสมัยคณะราษฎร ที่มิอาจลงหลักปักฐานได้เพียงเพราะปฏิบัติการย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เท่านั้น ทว่าโครงสร้างกองทัพแบบใหม่ คือ กลไกสำคัญที่ล้อมรั้วประชาธิปไตยให้อยู่รอดท่ามกลางสมรภูมิทางการเมืองและการสงคราม