โดย วรธิภา สัตยานุศักดิ์กุล
ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์
โดย วรธิภา สัตยานุศักดิ์กุล
ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์
เคยมีนักศึกษาในวิชาประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์เขียนประเมินรายวิชาไว้ อาทิ
“...ถ้าได้เรียนวิชานี้ก่อนเรียนวิทยาศาสตร์คงสนุกมาก ”
“ ทำให้เข้าใจวิทยาศาสตร์ในมุมมองที่ต่างออกไปจากในสมัยมัธยม...”
“...วิชาคณิตศาสตร์สำคัญกว่าที่คิดมาก อยากกลับไปตั้งใจเรียนคณิต ”
หนังสือเล่มนี้จึงคาดหวังให้ผู้อ่านได้เข้าถึงมุมมองและแง่คิดเดียวกันนั้น แม้จะไม่ได้ศึกษาโดยตรงจากในชั้นเรียน หรือแม้แต่ไม่ได้เรียนมาทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อได้อ่านเนื้อหาของหนังสือน่าจะช่วยให้เกิดทัศนคติใหม่ๆ ทั้งต่อวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ มองเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ในฐานะองค์ประกอบหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกอย่างต่อเนื่องจนมาถึงยุคสมัยของเรา และเป็นหลักฐานการขับเคลื่อนทางภูมิปัญญาของมนุษยชาติซึ่งผู้สนใจประวัติศาสตร์ไม่ควรละเลย
โดย ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว
ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์
โดย ฐนพงษ์ ลือขจรชัย
ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์
โดย รศ.ดร.วิศรุต พึ่งสุนทร
สำนักพิมพ์ Illuminations Editions, 2561
โดย วิราวรรณ นฤปิติ
ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์
สำนักพิมพ์ มติชน, 2560
ประเทศไทยรับพุทธศาสนาเถรวาทผ่านศรีลังกา ทั้งสองประเทศรับส่งหยิบยืมทั้ง จารีตและคัมภีร์ ศาสนากันไปมาอยู่ตลอดเวลา พุทธศาสนาลังกาวงศ์เข้ามาเฟื่องฟูในไทยผ่านทางอาณาจักรหริภุญไชยล้านนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเส้นสายที่ส่งอิทธิพลมาถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ผู้ฟื้นฟูพุทธศาสนาขึ้นในยุครัตนโกสินทร์ ศาสนาในอาณาจักรใหม่นี้จึงรับอิทธิพลคัมภีร์ภาษาบาลีจากศรีลังกาโดยตรง ซึ่งรวมไปถึงอรรถกถาคัมภีร์ ที่แต่งโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ องค์ความรู้ที่ส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงคือเรื่อง ปัญจอันตรทาน หรือความคิดที่ว่าเมื่อพุทธศาสนาล่วงมาถึง 5,000 ปี ศาสนาจะถึงการอันตรทานไป ศีลธรรมของผู้คนจะเสื่อม พระพุทธรูป วัดวาอาราม เจดีย์ จะพังลง ต่อมาความคิดนี้จะพัฒนามาเป็นพื้นฐานความคิดทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง เมื่อ พ.ศ 2500 หรือปีพุทธชยันตี หรือปีกึ่งพุทธกาล ซึ่งส่งอิทธิพลไปยังประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาททั้ง ลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา
ศาสนาและการเมือง สองสิ่งนี้เป็นพื้นฐานทางจารีตและการปฏิบัติของชนชั้นปกครองที่เป็นเนื้อเดียวกัน พระมหากษัตริย์ในพุทธศาสนาในฐานะจักรวาทิน หรือราชาผู้หมุนกงล้อธรรม จึงมีหน้าที่สนับสนุนการเผยแผ่และปกป้องศาสนาควบคู่ไปกับงานบริหารบ้านเมือง จึงเป็นที่มาของเหตุผลของการฟื้นฟูศาสนาขึ้นใหม่จากยุคก่อนหน้าที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงทางการเมืองของรัชกาลที่ 1 ทั้งการสังคายนาพุทธศาสนา แต่งตั้งคณะสงฆ์ใหม่ และเก็บรวบรวมพระพุทธรูป สร้างอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์แห่งใหม่สำหรับพุทธศาสนา
(ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง แนวคิดการรวบรวมพระพุทธรูปช่วงสร้างกรุงเทพฯ ถึงรัชกาลที่ 5. )