วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2530
นโยบายเกี่ยวกับผู้ หญิงไทยในสมัยการสร้างชาติของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ.2481 - 2487)
โดย นันทิรา ขำภิบาล
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:144223

บทคัดย่อ 

การศึกษาเรื่อง "นโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงไทยในสมัยสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2481-2487" นี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงลักษณะของนโยบาย จุดมุ่งหมายของนโยบาย ปัจจัยกำหนดนโยบายและวิธีการดำเนินนโยบาย ตลอดจนศึกษาถึงผลกระทบของนโยบายที่มีต่อบทบาทและสถานภาพของผู้หญิงในสมัยดังกล่าว

การศึกษาคันคว้าในวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ผู้เขียนอาศัยการจัดระบบข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากเอกสารชั้นต้น ได้แก่ สมุดสั่งงานของจอมพล ป. พิบูลสงคราม หนังสือราชการ คำปราศรัย สุนทรพจน์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และบทความของ "สามัคคีไทย" ที่เขียนโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเอกสารชั้นรอง ได้แก่ หนังสืออนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพห่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม บันทึกความทรงจำและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยุคสมัยดังกล่าว โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ ศึกษาถึงเนื้อหาในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดและที่มาของนโยบาย วิธีการคำเนินนโยบายและผลกระทบของนโยบายดังกล่าว

จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ในสมัยสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐบาลได้มีนโยบายที่เด่นชัดในอันที่จะยกฐานะของผู้หญิงไทยให้เจริญก้าวเน้าทัดเทียมอารยประเทศ และสนับสนุนให้ผู้หญิงไทยออกมามีบทบาทในสังคม เศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศ และให้สังคมยอมรับสถานภาพของผู้หญิง ดังจะเห็นได้จากการส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพของผู้หญิง การประกาศคุ้มครองสิทธิของผู้หญิง การประกาศเรื่องวัฒนธรรมผัวเมีย ตลอดจนการจัดตั้งองศ์กรต่าง ๆ ให้ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วม เช่น กองอาสากาชาด ยุวนารีและกองทหารหญิง เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า นโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงไทยในสมัยดังกล่าวเกิดขึ้นจากปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการคือ ทัศนคติส่วนตัวของจอมพล ป. พิบูลสงครามที่มีต่อผู้หญิงไทย นโยบายสร้างชาติอันเป็นนโยบายหลักของการบริหารประเทศในสมัยนั้น และการที่ประเทศต้องเผชิญกับภาวะสงคราม การดำเนินนโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงไทยในสมัยดังกล่าวส่งผลให้ผู้หญิงไทยได้มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ซึ่งหากจะประเมินกลุ่มของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวอย่างชัดเจน ก็คือกลุ่มผู้หญิงในชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง ซึ่งผู้หญิงในกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มแนวหน้าในการดำเนินงานเพื่อยกฐานะของผู้หญิงสามัญชนทั้งในด้านการศึกษาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในระยะต่อมา

การศึกษาถึงนโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงไทยในสมัยสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการศึกษาถึงประวัติพัฒนาการของสถานภาพและบทบาทของผู้หญิงไทยภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อันเป็นรากฐานของการพัฒนาผู้หญิงไทยในสมัยปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึงนโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงไทยในสมัยสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงครามนี้ เป็นระยะเริ่มแรกที่รัฐบาลได้มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงทั้งในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระยะสงคราม ทำให้กิจการต่าง ๆ ที่ได้ริเริ่มดำเนินการไว้นั้นต้องหยุดชะงักลงเนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงครามสิ้นสุดอำนาจลง แต่กิจการต่าง ๆ ก็ได้ฟื้นตัวขึ้นอีกเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2491-2500 ฉะนั้นเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้หญิงไทยอย่างต่อเนื่องและชัดเจนยิ่งขึ้น จึงสมควรที่จะได้มีการศึกษาถึงนโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงในสมัยที่ 2 นี้ด้วย เพื่อความเข้าใจถึงประเด็นนี้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น