วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2531
การศึกษาบทเพลงเพื่อชีวิตที่เกี่ยวข้องกับขบวนการนักศึกษาช่วง 2516-2529
โดย จรูญรัตน์ สุวรรณภูสิทธิ์
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:274131

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เพื่อให้ทราบถึงแนวความคิดของขบวนการนักศึกษาตั้งแต่ปี 2516-2519 โดยใช้เพลงเพื่อชีวิตเป็นสื่อในการศึกษา เพลงเพื่อชีวิตนี้สามารถสะท้อนถึงความคิด การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม การเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 3 ปี เพลงเพื่อชีวิตยังมีแนวพัฒนาการรูปแบบวัฒนธรรมของบทเพลง รูปแบบของวงดนตรีไปตามความต้องการของผู้ฟังด้วย เช่น ในช่วงแรกแนวเพลงสะท้อนบัญหาความยากจน ความเสียเปรียบของชนชั้นกรรมกร ชาวนา ลักษณะของดนตรีก็ใช้แนวเพลงโฟลคซองค์

ต่อมามีการรวมพลังต่อสู้ต่อรองกับอำนาจรัฐมากขึ้น โดยขบวนการนักศึกษาได้นำองค์กรของชาวนาและกรรมกรมาร่วมประท้วงทำให้เกิดลักษณะดนตรีเป็นทำนองมาร์ชปลุกใจ เนื้อเพลงก็จะรุนแรงชี้ชวนให้ต่อสู้ เพราะสังคมช่วงนั้นถูกกระทิงแดงโจมตีการปฏิบัติงานของขบวนการนักศึกษามากขึ้น

การปรับเปลี่ยนแนวเพลงจากตะวันตกให้พัฒนาเป็นเพลงพื้นเมืองแบบไทย เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของการประท้วงในโรงงานหรือกลุ่มชาวนา เพลงจึงเปลี่ยนท่วงทำนองจากแนวตะวันตก เป็นแบบลูกทุ่ง แบบพื้นบ้านอีสาน เพลงไทยเดิมที่มีท่วงทำนองสนุก เนื้อร้องก้าวหน้าและมีเพลงรำวงมากขึ้น เป็นการใช้วัฒนธรรมไทยเข้ามาเป็นจุดยืนในลักษณะเพลงเพื่อชีวิต

วงดนตรีของนักศึกษาปัญญาชนจึงเกิดขึ้นตามความต้องการของสังคมอย่างมากมาย ตลอดจนเพลงเก่าของ จิตร ภูมิศักดิ์ หรือเพลงปฏิวัติที่แต่งขึ้นในบ่าก็ได้นำออกเผยแพร่ เป็นการสะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองของนักศึกษา

นอกจากบทเพลงเพื่อชีวิตจะสะท้อนแนวความคิดของขบวนการนักศึกษา เกิดการพัฒนาการทั้งรูปแบบและเครื่องดนตรี งานของเพลงเพื่อชีวิตยังเปรียบเสมือนเครื่องมือปลุกใจให้เกิดพลังในการต่อสู้กับอำนาจรัฐ จนเป็นเหตุให้ผ่ายรัฐหรือกลุ่มประเนนีนิยมได้แต่งบทเพลงปลุกใจขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการต่อสู้เช่นกัน

บทเพลงจึงมีหน้าที่ที่สำคัญเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังอุดมการณ์ และยังเป็นสิ่งสะท้อนวัฒนธรรมของสังคมยุคหนึ่งได้ และสิ่งที่น่าศึกษาคือเพลงเพื่อชีวิตเหล่านี้ ได้มีพัฒนาการทั้งแนวความคิดจากเนื้อร้องและแนวดนตรีมาจนถึงปัจจุบัน