วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2530
แนวความคิดของผู้นำไทยเรื่อง "ชาติ" กับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทย
โดย โรจน์ จินตมาศ
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:163746

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายเรื่องการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทย โดยศึกษาจากความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามของกลุ่มผู้นำไทย กับแนวความคิดในการสร้างชาติ อันเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจดังกล่าว ทั้งในฐานะ "ภูมิหลัง" ของผู้นำ และเหตุผลที่มาประกอบกับข้อมูลทางการเมืองระหว่างประเทศ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 3 บท (ไม่นับบทนำและบทสรุป)          

บทแรก เป็นการศึกษาความเป็นมาของแนวความคิดเรื่อง "ชาติ" และการสร้างชาติตั้งแต่แรกเริ่มจนกระทั่งก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเน้นหนักที่ภูมิหลังและแนวพระราชดำริในการสร้างชาติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

บทต่อมา จะศึกษาทัศนคติของกลุ่มผู้นำไทยที่มีต่อสงครามโลกครั้งที่ 1 นับตั้งแต่แรกเริ่ม (ค.ศ. 1914) จนกระทั่งถึงก่อนการประกาศสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขตของเยอรมนี (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917) ทั้งในด้านนโยบายรักษาความเป็นกลาง และความสัมพันธ์กับเหตุการณ์และข่าวสารต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

บทสุดท้าย เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเคลื่อนไหวทางการทูตของสัมพันธมิตรภายหลังการประกาศสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขตของเยอรมนี กับการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของกลุ่มผู้นำไทยที่นำไปสู่การตัดสินใจเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร บทบาทของไทยในสงครามและกระบวนการสร้างชาติที่เกี่ยวข้อง

ในบทสรุป จึงจะวิเคราะห์ผลของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งในส่วนผลต่อการสร้างชาติภายหลังสงคราม และความสำคัญของการเข้าร่วมสงครามที่มีต่อประวัติศาสตร์ไทย

จากการศึกษาพบว่ากระบวนการสร้างชาติเป็นสิ่งที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทยอยู่ไม่น้อย ในด้านภูมิหลังก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น กลุ่ม ผู้นำไทยสมัยรัชกาลที่ 6 ยังต้องเผชิญกับปัญหาการยอมรับทั้งจากประชาชนใน "ชาติ" และจากมหาอำนาจตะวันตก ดังเช่นปัญหาการเผยแพร่ลิทธิ เสรีนิยมในหมู่คนจีน และสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ทำให้ไทยเสียเปรียบตะวันตก เป็นต้น เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่1 ปัญหา "การยอมรับ" มีมากขึ้น เพราะทัศนคติที่ต่างกันระหว่างกลุ่มผู้นำกับประชาชน กล่าวคือ นโยบายเป็นกลางโดยทางราชการนั้นยังอิงอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากข้อจำกัดกางภูมิศาสตร์ที่มอาณานิคมของชาติสัมพันธมิตรอยู่โดยรอบไทยและการที่ผู้นำไทยได้รับรู้ข่าวสารความไร้มนุษยธรรมของเยอรมนี้ในสมรภูมิยุโรป การที่เยอรมนีเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศต่าง ๆ และท่าทีของเยอรมนีที่ขัดต่อความเป็นกลางของไทย ในขณะที่ประชาชนไทยส่วนหนึ่งยังนิยมเยอรมันอยู่ ความแตกต่างทาง ด้านทัศนคตินี้แม้จะไม่รุนแรงมากนัก แต่ก็สร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มผู้นำไทย และความหวาดระแวงว่าอาจจะไม่ได้รับความไว้วางใจจากชาติสัมพันธมิตรเท่าที่ควร การสร้างชาติในระยะนี้ จึงเน้นที่การย้ำความเป็นกลางตามทัศนคติของผู้นำไทยครั้นต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามกับสัมพันธมิตรแล้ว ได้มีชาติต่าง ๆ เข้าร่วมด้วยมากขึ้นจนฝ่ายสัมพันธมิตรมีความเข้มแข็งพอที่จะได้รับชัยชนะในระยะยาว และสามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และการเมืองโลกในภายหลังสงครามได้อย่างมากกลุ่มผู้นไทย จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามกับ ผ่ายสัมพันธมิตร เพื่อปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น และใช้โอกาสนี้สร้างความเป็นปีกแผ่นทางความคิดของประชาชนในชาติด้วยอุดมการ "ธรรมะ" ในอันที่จะร่วมมือกับสัมพันธมิตร ในการปราบปรามความไร้มนุษยธรรมของเยอรมนี จนเมื่อเสร็จสิ้นสงครามแล้ว กลุ่มผู้นำไทยก็ยังคงใช้ความสำเร็จจากการเข้าร่วมสงครามและอุดมการ "ธรรมะ" มาสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนต่อไป

ข้อควรสังเกตคือ แม้ว่าการสร้างชาติจะไม่ใช่สาเหตุปัจจัยหลักของการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทย แต่ก็มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจดังกล่าวมาโดยตลอดกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กระบวนการการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของกลุ่มผู้นำไทยในอันที่จะต่อสู้ เพื่อให้สถานะของตนได้รับการยอมรับทั้งจากภายในและภายนอกประเทศและสะท้อนให้เห็นว่าการยอมรับจากทั้งสองทางดังกล่าวเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันอย่างมาก