วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2539
การเผยแพร่ศาสนาคริสต์กับการตอบสนองของชาวพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่าง ค.ศ. 1511-1990
โดย เคียว อุค ลี
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:118905
บทคัดย่อ
การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำไมจึงได้ผลน้อยยกเว้น ฟิลิปปินส์ คงมีสาเหตุหลายอย่าง แต่สาเหตุสำคัญอันหนึ่งคือ วิธีการที่มิชชันนารีตะวันตกใช้ในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ที่ไม่ทำตามคำสั่งของพระเยซูแต่ทำตามวิธีการของชาวโลกร่วมสมัย การตอบสนองของชาวพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ การไม่ยอมรับศาสนาคริสต์ว่าเป็นของตนเอง กรณีศึกษาเฉพาะประเทศไทยก็แสดงจุดนี้อย่างชัดเจน
การเข้ามาของศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริงนั้นเริ่มตั้งแต่โปรตุเคสเข้ายึดครองมะละกาโดยกำลังทหารในค.ศ. 1511 จากนั้นมาคารเผยแผ่ของศาสนาคริสต์โดยคนตะวันตกที่มีมาตลอดจนถึงปัจจุบัน รวมเวลาประมาณ 480 ปี เราอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงเวลา แต่ละช่วงเวลามีลักษณะของคารเผยแผ่ไม่เหมือนกัน และการตอบสนองของชาวพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ไม่เหมือนคัน
ระยะแรกคือตั้งแต่ ค.ศ.1511 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 ช่วงเวลานี้การเข้ามาของศาสนาคริสต์ต้องพึ่งอาศัยอำนาจตะวันตก เช่นอำนาจทางการค้า อำนาจทางคารทหาร ดังนั้นชาวพื้นเมืองจึงคิดว่าศาสนาคริสต์เป็นตัวแทนอำนาจตะวันตกที่จะยึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงนี้ศาสนาคริสต์คับการเมืองแยกกันไม่ออกในสายตาของมิชชันนารีและชาวพื้นเมือง
ระยะที่สองของการเผยแผ่ศาสนาคริสต์เริ่มด้วยลัทธิอาณานิคมตะวันตก ตั้งแต่ ปลายศตวรรษที่ 19 ตะวันตกยึดครองแผ่นดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอาณานิคมของตนยกเว้นประเทศไทย ในสมัยนี้การเผยแผ่ศาสนาคริสต์แยกออกจากอำนาจตะวันตกเนื่องจากมีนโยบายว่าเจ้าอาณานิคมไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวพื้นเมือง และวิธีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ที่มิชชันนารีใช้คือปลูกฝังอารยธรรมตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น สร้างโรงเรียนโรงพยาบาล โรงพิมพ์ กิจการสังคมสงเคราะห์ต่างๆ มิชชันนารีคิดว่าถ้าชาวพื้นเมืองรับอารยธรรมชาวตะวันตกแล้วก็ไม่ยากที่จะยอมรับศาสนาคริสต์ แต่ชาวพื้นเมืองยอมรับอารยรรมตะวันตกแต่ปฏิเสธศาสนาคริสต์ ยิ่งกว่านั้นอีก ชาวพื้นเมืองปฏิรูปศาสนาของตนด้วยอารยธรรมตะวันตก ชาวพื้นเมืองเห็นว่าศาสนาคริสต์เป็นตัวแทนอารยธรรมตะวันตกที่พัฒนาแล้ว
ระยะที่สามเริ่มตั้งแต่หลังสงครามโลคครั้งที่สอง ขบวคารชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มิชชันนารีพึ่งอาศัยคริสตจักรชาวพื้นเมืองที่ถูกเลียนแบบคริสตจักรตะวันตก โดยไม่ช่วยสร้างให้เป็นศาสนาคริสต์แบบชาวพื้นเมืองแต่กลับปลูกฝังความเป็นตะวันตกไว้ในคริสตจักรชาวพื้นเมือง ทำให้คริสตจักรชาวพื้นเมืองกลายเป็นเพียงสาขาหนึ่งของคริสตจักรชาวตะวันตกทั้งในด้านศาสนศาสตร์และการบริหาร ดังนั้นชาวพื้นเมืองจึงเห็นว่าศาสนาคริสต์เป็นตัวแทนของศาสนาตะวันตก
วิธีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ที่ผ่านมาทำให้สร้างความเป็นต่างประเทศ (Poreignness)ของศาสนาคริสต์ หมายถึงความเป็นตะวันตก ทั้งๆที่ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นในเอเชียและมีความเป็นสากลในตัวมันเอง คารแสดงออกของความเชื่อของคริสเตียนสามารถเปลี่ยนได้ตามสภาพท้องถิ่น ไม่ต้องมีรูปแบบของตะวันตกหรือตะวันออกตายตัว แต่เมื่อคริสเตียนตะวันตกเข้ามาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เน้นสภาพความเป็นตะวันตกของศาสนาคริสต์ที่เกิดขึ้นตามสภาพตะวันตก มากกว่าสาระสำคัญของศาสนาคริสต์ จึงได้สร้างความรู้สึกถึงความเป็นอื่น(Otherness) ของศาสนาคริสต์ท่ามกลางชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าความเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของศาสนาคริสต์เกิด ขึ้น การตอบสนองของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นั้นคงดีคว่าดั้งเดิม