วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2548
ความขัดแย้งทางความคิดในขบวนการคอมมิวนิสต์ไทยระหว่าง พ.ศ. 2519-2525
โดย ธิกานต์ ศรีนารา
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:114237
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่อง "ความขัดแย้งทางความคิดในขบวนการคอมมิวนิสต์ไทย ระหว่าง พ.ศ. 2519-2525" มุ่งศึกษาว่า นอกจากผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.),อดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลาคม 2516 และอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 6 ตุลาคม 2519 ที่รู้จักกันดีอยู่ไม่กี่คนแล้ว มีคนกลุ่มใดบ้างที่มีส่วนร่วมอยู่ในกรณี "ความชัดแย้งทางความคิดในขบวนการคอมมิวนิสต์ไทย ระหว่าง พ.ศ. 2519 - 2525" ด้วย, โดยจะศึกษาด้วยว่า อะไรคือเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้คนแต่ละกลุ่มปรากฏตัวขึ้น, คนแต่ละกลุ่มมีเนื้อหาความคิดและมีรูปแบบในการแสดงออกทางความคิดของตนเองอย่างไร, การปรากฏตัวขึ้นและการเคลื่อนไหวของคนแต่ละกลุ่มมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร, และความขัดแย้งดังกล่าวมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง ?
ผลจากการศึกษาพบว่า กรณี 6 ตุลาคม 2519 และบริบททางการเมืองที่เป็นเผด็จการได้ผลักดันให้นักศึกษาปัญญาชนเข้าไปร่วมทั้งการต่อสู้ด้วยอาวุธและร่วมทำกิจกรรมทางปัญญา กับ พคท. เป็นจำนวนมาก แต่ต่อมาความชัดแย้งในอินโดจีนที่เกิดขึ้นในต้นปี 2522 ก็กลายเป็น ปัจจัยสำคัญทำให้นักศึกษาปัญญาชนจำนวนหนึ่งแยกตัวออกจาก พคท. และบางส่วนได้ไปเข้า ร่วมรณรงค์โจมตี พคท. กับนิตยสารข่าวไทยนิกร, ในปี 2523 ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้า พคท. มาตลอดปี 2522 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ธีรยุทธ บุญมี และอดีตผู้นำนักศึกษาหลายคนในพรรค สังคมนิยมแห่งประเทศไทย (พสท.) เสนอความคิดเห็นให้ พคท. ปรับขบวนใหม่โดยซูองค์การแนว ร่วมขึ้นเป็นองค์การนำในการปฏิวัติแทน พคท. แต่การเสนอและการถกเถียงทางความคิดกลับนำไปสู่การถอนตัวออกจากความร่วมมือกับ พคท. ของ ธีรยุทธและอดีตผู้นำนักศึกษาหลายคนในพสท., ต้นปี 2524 หลังจากธีรยุทธ และอดีตผู้นำนักศึกษาหลายคนออกจากขบวนปฏิวัติได้ไม่นานภายในขบวนปฏิวัติไทยก็ได้เกิดการแยกตัว การรวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ และการเคลื่อนไหวเสนอความคิดเห็นต่อ พคท. ของผู้ปฏิบัติงานและนักศึกษาขึ้นมากมายหลายกลุ่ม, ต้นปี 2525 เพื่อที่ยับยั้งไม่ให้ปัญหาต่างๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น บรรดาผู้นำ พคท. ได้เปิดการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 4 ขึ้น แต่ผลของการประชุมกลับไปเร่งให้ พคท. แตกสลายลงเร็วขึ้น เมื่อที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องการวิเคราะห์ลักษณะสังคมไทย และเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติงานพรรคทั้งระดับสูงและระดับล่างแยกตัวออกจาก พคท. กันเป็นจำนวนมาก