วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2548
แนวคิดเรื่องกึ่งพุทธกาลในสังคมไทย พ.ศ. 2475-2500
โดย พัชรลดา จุลเพชร
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:114201

บทคัดย่อ

พุทธศาสนาแยกตัวออกมาจากศาสนาฮินดู เพื่อให้หลุดพ้นจากเทพเจ้าผู้มีอำนาจมากที่สุดของศาสนาฮินดู คือ เจ้าแม่กาลี (Goddess Kail) ในความหมายของศาสนาฮินดูนั้นเจ้าแม่กาลีเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตและเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของทุกชีวิต รวมทั้งตัวของเจ้าแม่กาลีเองด้วย ไม่มีใครหรือสิ่งใดสามารถหลบหนีพ้นไปจากอำนาจของเจ้าแม่กาลีได้ แม้แต่เทพเจ้าด้วยกันเอง

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ปฏิเสธความเชื่อในพระเจ้าทุกองค์รวมถึงเจ้าแม่กาลีด้วย อย่างไรก็ตามการดำรงอยู่ของเจ้าแม่กาลีในรูปของ "กาละ" ปรากฏอยู่ภายในแก่นของพุทธศาสนา ดังคำพระที่ว่า "เวลากลืนกินสรรพสิ่ง ตลอดจนตัวของมันเอง" และนั้นคือ "กฎของธรรมชาติ" กว่า 2500 ปี มาแล้ว พระสมณโคดมหรือพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ทรงค้นพบทางแห่ง "การหลุดพ้น" ไปจากอำนาจของ "กาละ" (หรือเจ้าแม่กาลี) คือหลุดพ้นจาก "วัฏฏสงสาร" การเวียนว่ายตายเกิดทางแห่งการหลุดพ้นนี้คือ "นิพพาน" หรือการดับสูญ (การไม่เกิดอีก) ซึ่งสามารถยืนยันว่ากาละ (หรือเจ้าแม่กาลี) ไม่สามารถจะมีอำนาจเหนือผู้ที่เข้าถึงนิพพานได้อีกต่อไป การเข้าถึงนิพพานเกิดจากกระบวนการที่เรียกว่าการ "ตรัสรู้" ทุกคนที่ตรัสรู้จะเข้าถึงขั้นของนิพพานโดยอัตโนมัติ

ถึงแม้ว่าพระพุทธองค์จะทรงตรัสรู้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ซึ่งดูเหมือนว่าจะหลุดพ้นไปจากอำนาจของกาละหรือเจ้าแม่กาลี แต่คำพยากรณ์ดั้งเดิมที่ว่าพุทธศาสนาจะมีอายุเพียง 5000 ปีเท่านั้น และจะดำเนินไปตามวัฏฏสงสาร คือ การเกิด เจริญ เจริญเต็มที่ แก่ และตาย อยู่ในระยะเวลา 5000 บีนี้ สอดคล้องกับการดำเนินไปของพุทธศาสนาโดยเริ่มจากกำเนิดขึ้น ถูกเผยแผ่จากอินเดียสู่ส่วนต่างๆ ของโลก ถึงระยะที่เจริญเต็มที่ที่ 2500 ปี (พุทธศักราช 2500) ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของวัฏจักร 5000 ปี หลังจากนั้นเริ่มเข้าสู่ความเสื่อม และเริ่มเข้าสู่กลียุค

ซึ่งเชื่อกันว่า ณ เวลานั้นจะเกิดความสับสนวุ่นวาย นรกจะแตก วิญญาณร้าย (เปรต)จากนรกจะกลับมาเกิดอีกครั้ง ความวุ่นวายหรือมิคลัญญีจะแพร่กระจายไปทั่วแผ่นดิน ณ กึ่ง พุทธกาลพุทธศาสนาได้ดำเนินมาถึงจุดสูงสุด หากเทียบกับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เป็นตำแหน่งที่พระอาทิตย์เคลื่อนขึ้นสู่จุดที่อยู่ตรงกับศีรษะพอดี - จุดที่รุ่งเรืองที่สุด - ฉายรัศมีแจ่มจ้าจนไม่อาจจ้องมองได้

รัฐบาลไทยในขณะนั้นตระหนักเป็นอย่างดี ถึงความเชื่อเรื่องกึ่งพุทธกาลซึ่งเป็นที่แพร่หลายและสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้คนในสังคม รัฐบาลจึงพยายามลบล้างคำพยากรณ์เก่าแก่นี้ เพราะเรื่องของมิคลัญญี่เป็นตัวทำลายความชอบธรรมทางการปกครองของรัฐบาล และ รัฐบาลที่อยู่ในยุคมิคสัญญี จะถูกมองว่าเป็น "รัฐบาลมิคสัญญี" ด้วย

พุทธศาสนาแบบไทยสิ้นท่าโดยสิ้นเชิง เมื่อต้องเผชิญกับเรื่องของเวลาหรือ "กาละ"เพราะเวลาครอบคลุมสรรพสิ่ง ไม่มีอาวุธหรือเครื่องมือใดในพุทธศาสนาที่จะตอบโต้ได้ มีเพียงทางเดียวที่จะปัดเป่าหรือหลบเลี่ยงคือการอ้างเรื่องของนิพพาน แต่ พ.ศ. 2500 หรือกึ่งพุทธกาลตรงกับค.ศ. 1975 มนุษย์ได้ใช้ระเบิดปรมาณูทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันและเริ่มสำรวจอวกาศ สองสิ่งนี้เป็น สัญลักษณ์แห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อทุกคน การก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญของตะวันตก และแนวคิดถึงความก้าวหน้าเป็นเครื่องมือที่จริงแท้และเป็นอาวุธทางความคิดที่จะนำมาตอบโต้กับเรื่องนี้ เชื่อกันโดยทั่วไปว่าแก่นแท้ของพุทธศาสนา วิธีการเข้าถึงความรู้ของพุทธศาสนาคือเรื่องของเหตุและผล เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมีเหตุมีผลของ พุทธศาสนา ซึ่งคล้ายกับวิธีการของวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกตและการทดลอง แสดงให้เห็นถึงการไม่ขัดแย้งกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา ยิ่งกว่านั้นยังทำให้วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามีแก่นแท้ร่วมกัน

ถ้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถสร้างความก้าวหน้าให้เกิดขึ้นได้ พุทธศาสนาแบบไทยก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แม้ว่ากึ่งพุทธกาสได้กลายเป็นอาณาบริเวณที่ขัดแย้งกันระหว่างคำทำนายดั้งเดิมเรื่องมิคสัญญี่และความเสื่อม กับแนวคิดใหม่ของความก้าวหน้าโดยวิทยาศาสตร์แต่สิ่งทีเกิดขึ้นคือการรวมสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน และเป็นที่พอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ถึงแม้ว่าสมัยของกลียุคนั้นยังเป็นเวลาอีกยาวนานจากกึ่งพุทธกาล แต่รัฐบาลไทยได้สร้างอนุสรณีย์ทางพุทธศาสนา คือ พุทธมณฑล ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็น สัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงการหลุดพ้นจากอำนาจของเจ้าแม่กาลีหรือหลุดพ้นจากอำนาจของกาลเวลา โดยการสถาปนาว่ากึ่งพุทธกาลเป็นยุคของความก้าวหน้าแทนที่จะเริ่มยุคของความเสื่อม

กึ่งพุทธกาลเป็นช่วงระยะเวลาที่เคร่งเครียด, สับสน พร้อมกับเป็นช่วงระยะเวลาที่น่าตลกขบขันในสังคมไทย โดยการพยามบรรจุความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดลงไปในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ แสดงให้เห็นถึงการนำวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาผสมผสานกันอย่างขาดวิจารณญาณและไม่มีการถกเถียง การวิพากษ์วิจารณ์ ถึงความแตกต่างกันระหว่างสองแนวคิดนี้เลย เช่น เรื่องอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ซึ่งกำลังเป็นที่แพร่หลายอยู่ในเวลานั้น คอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อพุทธศาสนา เพราะสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มาจากวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ มีเกณฑ์กรอบและมาตรการในการศึกษาที่แน่นอนและมั่นคง ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับคำสอนทางพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนให้มนุษย์อดทนต่อสภาพของชีวิตแต่คอมมิวนิสต์ตรงกันข้าม สภาพที่ต้องอดทนเป็นผลสืบเนื่องของการอำพรางความจริง โดยคนกลุ่มหนึ่งคือ "ผู้มี" เหนือคนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ "ผู้ไม่มี" กว่าพันปีมาแล้วและต้องกำจัดให้หมดไป จะเห็นได้ว่าสองระบบความเชื่อนี้ไม่สามารถที่จะเข้ากันได้เลย

เมื่อใกล้ถึงกึ่งพุทธกาล รัฐบาลไทยถือว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการประกาศความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ ความเชื่อในความก้าวหน้าซึ่งเป็นผลิตผลของโลกตะวันตกทั้งหมด และทำให้แก่นแท้ของพุทธศาสนามีหลักแห่งเหตุผล แต่มีบางสิ่งของตะวันตกที่ไม่พึงปรารถนา เช่น คอมมิวนิสต์และดนตรีร็อกแอนด์โรล สิ่งเหล่านี้จึงถูกห้ามพร้อมกับกางเกงยีนส์และรองเท้าผ้าใบ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความเป็นไทยและเป็นกรรมเลวสำหรับสังคมไทย

เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของกึ่งพุทธกาลในประเด็นที่ว่า นับจนถึงปัจจุบัน นี้เป็นระยะเวลาเกือบ 50 ปีมาแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม แต่สำหรับหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนานั้นยังคงเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีความเป็น "สัจธรรม" และนำมาอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างที่เปลี่ยนแปลงนั้นได้

ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง การมองเวลาแบบก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และการมองเวลาแบบเป็นวัฏจักรของศาสนาฮินดู/พุทธศาสนา ถูกนำมารวมเข้าด้วยกันอย่างพิสดารภายในโลกทัศน์ของ สังคมไทย กึ่งพุทธกาลจึงเปรียบเสมือน พุทธศาสนาได้มาถึงจุดที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เป็นแสงสว่างที่ส่องให้สำหรับการพินิจพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างก่อนจะเชื่อ แต่สิ่งที่ไม่อาจไปพินิจพิจารณาได้คือตัวของพุทธศาสนาเอง เพราะเมื่อพิจารณาแล้วไม่เชื่อ ก็บอกให้เชื่อไว้ก่อน คือ "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" นั้นเอง อาจจะจริงที่การกระทำดังกล่าวทำให้พุทธศาสนารอดพ้นจากเรื่องของกึ่งพุทธกาลมาได้ แต่การไม่พินิจพิจารเนาก่อนจะเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งใด คือการไม่เชื่อมั่นในคำสอนของพุทธศาสนาหรือขัดต่อคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่าให้พิจารณาก่อนจะเชื่อ บางที่คติเรื่องไม่เชื่ออย่าลบหลู่นี้คือสิ่งที่ส่งตรงมาจากนรกเมื่อนรกแตกครั้งกึ่งพุทธกาลนั้นเอง