สารนิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ปี 2548
ความเป็นมาของการประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของพม่าใน ค.ศ. 1961
โดย ตรี จตุรานน
ดาวน์โหลดได้ที่ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:113267
บทคัดย่อ
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของพม่าในปี ค.ศ.1961 ละผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการต่อต้านของชนกลุ่มน้อยและชาวพม่าที่นับถือศาสนาอื่น
รัฐบาลพม่าประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ.1947 เป็นครั้งที่ 3 ใน ค.ศ. 1961 จากการศึกษาพบว่า การประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุน 4 ประการ ประการแรก พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองพม่ามาตลอดตั้งแต่สมัยที่ยังมีกษัตริย์ปกครองจนถึงช่วงที่ได้รับเอกราชในสมัยที่ยังมีระบบกษัตริย์พุทธศาสนาถูกนำมาตีความสัมพันธ์กับความเชื่อต่างๆในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคม ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับการเมืองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เพราะนักชาตินิยมเริ่ม ที่จะตีความพุทธศาสนาสัมพันธ์กับแนวทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบใหม่ ส่วนสมัยที่พม่าได้รับเอกราชแล้ว นักชาตินิยมเหล่านี้ได้กลายเป็นนักการเมืองและยังคงนำเอาพุทธศาสนามา สัมพันธ์กับการเมืองและเศรษฐกิจแบบใหม่ เช่น สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และลัทธิมาร์กซ์ ประการที่สอง อูนุเป็นผู้ที่นับถือและปฏิบัติตามหลักของพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ดังจะเห็นได้จากการประกอบกิจกรรมของพุทธศาสนาหลังจากที่พม่าได้รับเอกราช อูนุหวังที่จะให้การประกาศพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเป็นหนทางที่ทำให้ประชาชนหันมาปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในภพนี้หรือเข้าถึงนิพพานในภาพหน้า ประการที่สาม ชาวพุทธและพระสงฆ์ได้มีการเรียกร้องให้มีการประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติตลอดมาตั้งแต่ได้รับเอกราชการเรียกร้องเหล่านี้ทำให้อนุรับรู้ถึงความต้องการของชาวพุทธและทำให้ตัดสินใจที่จะใช้การประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเป็นนโยบายการเสียงในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1960 ประการสุดท้ายรัฐบาลรักษาการณ์ของนายพลเนวินสามารถแก้ไขปัญหาการก่อกบฏของชนกลุ่มน้อยได้ ทำให้อูนุมั่นใจว่าการประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไม่น่าจะก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองจากการต่อต้านของชนกลุ่ม น้อยซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ
อย่างไรก็ตาม ชนกลุ่มน้อยและชาวพม่าที่นับถือศาสนาอื่นได้ออกมาต่อต้านการประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะคนเหล่านี้คิดว่าเป็นการกระทำที่ไม่คำนึง ถึงความสำคัญของตนในฐานะที่เป็นประชาชนคนหนึ่งของสหภาพ แม้ว่าอูนุและรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 3 จะยังคงยอมรับถึงสิทธิในการนับถือและปฏิบัติตามหลักศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็ตาม ชาวคะอิ่น ชาวฉิ่น และชาวพม่าที่นับถือศาสนาอิสลามออกมาเดินขบวนเพื่อประท้วงการกระทำของรัฐบาล การแก้ไขสถานการณ์ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 4 ที่ระบุให้ทุกศาสนามีสิทธิที่จะสอนศาสนาของตนอย่างเสรีก็ไม่ได้ช่วยให้ประเทศเกิดความสงบ เพราะพระสงฆ์ออกมาก่อความวุ่นวาย ปัญหาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3 และ4 นี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นายพลเนวินทำการปฏิวัติในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1962